วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Yamaha Spark Z Rebuild Phase1

 Yamaha Spark Z 110CC 
เป็นรถที่ผมได้มาสมัยเรียนครับ Yamaha Spark Z 110CC เป็นรถมอเตอร์ไซด์ แบบ Family เครื่องยนต์ 4 จังหวะ คันนี้ผมใช้มาร่วม 6 ปีกว่า ก่อนหน้านั้น Spark คันนี้เป็นรถมือสอง ซึ่งผมซื้อต่อมาอีกทีนึง แต่เป็นผู้ปกครองซื้อให้นะครับ สมัยเรียนไม่มีตัง ซึ่งตอนนั้นก็แค่ใช้ขับไปเรียน แล้วก็ใช้งานทั่วๆ ไปไม่ได้สนใจอะไรมาก จนกระทั่งมันเริ่มหมดสภาพนี่แหละครับ 

Spark Z เป็นสปาร์ครุ่นแรกๆ ที่ยามาฮ่าส่งออกมาขายกับแข่งกับ Wave ของ Honda ซึ่งเป็นช่วงแรกๆที่ค่ายมอเตอร์ไซด์ในบ้านเรา เริ่มที่จะส่งรถมอเตอร์ไซด์ 4 จังหวะออกมาวางตลาด และเป็นมอเตอร์ไซด์ประเภท Family หรือรถแม่บ้านนั่นเอง รุ่น Spark Z เป็นรุ่นที่ถัดจาก Spark 110 มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างมาว่า Spark รุ่นนี้มีความเร็ว-แรงมากกว่า รุ่นที่เครื่องยนต์ CC เท่าๆ กันของค่ายอื่น อาจะเป็นเพราะ ระบบแมคนีโตของ Spark มีจำนวนมัคไฟ เยอะกว่ารุ่นอื่นๆ ซึ่งมีถึง 10 มัค แต่ Spark ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่ากับ Wave ของ Honda ส่วนหนึ่งที่อาจไม่ได้รับความนิยม เพราะการ Service ที่ยากกว่าในส่วนของภายในเครื่องยนต์ การโฆษณา การดีไซด์ และอื่นๆอีก บลาๆๆๆ
Honda Wave S ที่ออกมาในช่วงนั้น
ระบบล้อแม่เหล็กจานไฟ หรือ แมกนีโตของ Spark Z
Yamaha Spark Z ที่ไปเจอมาในเว็บบอร์ดของ Yamaha โดนใจผมมาก
BMW K100S มอเตอร์ไซด์ประเภททัวลิ่ง
ซึ่งเป็นมอเตอร์ไซด์ที่เน้นการเดินทางไกลเป็นหลัก
เบาะขาด แล้วก็ซีดมากเลย
ข้อด้อยอีอย่างของรุ่นนี้ที่ไม่มีเหมือนรุ่นใหม่ๆ คือ ไม่มี Ubox หรือกล่องเก็บของใต้เบาะ ทั้งๆที่ถังน้ำมันก็ไม่ได้มีความจุมากกว่ารุ่นใหม่ๆ น่าน้อยใจจริงๆ  -_-" แต่ก็ยังพอติดตระกร้าหน้า และกระเป๋าข้าง + กล่องหลังอยู่ได้บ้าง 
หลังจากอายุมันเริ่มจะครบ 10 ปี ก็เริ่มมีอาการ อย่างเช่น ลูกปืนล้อหลวม ซีนโช้ครั่ว คลัชลื่น และอื่นๆๆๆ บลาๆๆๆๆ สีตัวถังก็ซีด เหอๆ ผมก็เลยคิดว่าน่าจะเอามาบูรณะซะหน่อย ให้มันดูดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่จะปรับแต่งแบบไหนดี ให้เข้ากับความต้องการของเรา เพราะถ้าเอาสเปกเดิมๆ คงทำได้แค่ขับได้แค่ระยะไกล้ๆ ไม่ได้มีประโยชน์ใช้งานอย่างอื่น แต่เผอิญได้ไปเจอ Spark Z คันนึ่งที่โพสในเว็ปบอร์ดแห่งหนึ่ง จำชื่อไม่ได้แร้ว ก็ได้ Idea มาว่า เราน่าจะทำแบบนี้บ้าง นั่นก็คือสไตล์แฟมิลี่กึ่งทัวลิ่งนั่นเอง


เนื่องจากผมเป็นคนที่ชอบการเดินทางไกล ด้วยรถมอเตอร์ไซด์บ่อยมาก และต้องขนสัมภาระจำนวนไม่น้อย จึงต้องการคุณสมบัติเหล่านี้ แต่ถามว่าทำไม ไม่เล่นมอเตอรไซด์ทัวลิ่งที่เป็น Bigbike ไปเลย คำตอบก็คือ งบไม่ถึงไงครับ 555+ 
CBR 250R คู่ใจของผม ชักรู้สึกว่ามันขับเมื่อยขึ้นมาบ้างแล้ว ต้องก้มต้องหมอบ ขับไกลๆเหนื่อยมาก 
พอเรารู้ความต้องการแล้ว ก็ต้องมาไล่ List กันทีละข้อแหละครับ ว่าเราต้องการอะไรบ้าง สำหรับผมเลยนะ
1. ประหยัดน้ำมัน เพราะน้ำมันแพงขึ้นทุกวัน และรถประเภทนี้ถังน้ำมันไม่ได้ใหญ่มากครับ จุได้แค่ 4 ลิตรกว่าๆ แต่ด้วยสเปกเดิมๆของ Spark ก็ประหยัดอยู่แล้ว อาจจะประหยัดน้อยกว่าเวฟนิดหน่อยแต่ก็ได้ราวๆ 50 กิโลเมตรต่อ 1 ลิตรอยู่ ในเรื่องการปรับแต่งก็คงไม่ได้ไปยุ่งมันมาก อย่างเต็มที่ก็คงไปลงสเตอร์ครับ ถ้าไปปรับแต่งในส่วนของเครื่องยนต์อาจะไม่เวิร์ค เพราะนี่ก็ถือว่าประหยัดมากแล้ว
2. ความเร็ว คงไม่เน้นว่าต้องเร็วสุดขั้วมาก แต่ก็อยากให้วิ่งยืนพื้นที่ความเร็ว 80 Km:H เป็นอย่างน้อย ไม่งั้นก็จะช้าไปหน่อย ด้วยสเปกเดิมๆของ Spark Z คันนี้ ทำความเร็วได้ 120 Km:H ต้องเน้นว่าไม่มีคนซ้อน ทั่งลาก ทั้งหมอบ กันเลยทีเดียว ถ้าปรับแต่งเครื่องยนต์ เพิ่มไซด์+ยืดช่วงชัก อาจะทำให้ความร้อนสูงกว่าเดิม แล้วทำให้ต้องติด ออยคูลเลอร์ด้วย เด๋วจะยาวอีก 
3. ยาง Tubeless  จำเป็นมากสำหรับการเดินทางไกล เพราะเป็นยางที่เราไม่ต้องกลัวว่ามันนะแตกหรือรั่ว เพราะมันไม่มียางในครับ และโอกาสที่ลมยางจะซึมออกก็น้อยกว่ายางปกติ ซึ่งผมก็คิดไว้ว่าจะใช้หน้ายางกว้างกว่าสเปคเดิม และล้อต้องเป็นล้อแม็กด้วย อันนี้ยังไม่ได้ซื้อเลย แต่คงหาได้ไม่ยากนัก
4. อุปกรณ์เสริม อย่างเช่น กระเป๋าข้าง ขนสำภาระ แล้วก็ตระกร้าใส่ของและอื่นๆ ใส่มากก็ไม่ได้เพราะมันจะเพิ่มน้ำหนักให้รถ และ ทำให้ต้านลมเวลาขับเร็วๆด้วย เผื่อน้ำหนักคนซ้อนด้วยนะครับ ถ้าหนักมากเกินไปก็จะขับเร็วไม่ได้ และทำให้เครื่องยนต์กินน้ำมันมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาขึ้นทางชัน อันนี้ก็ยังไม่ได้เลือกเลย ว่าจะเอารุ่นไหน แต่คงไม่พ้น Shad กับ Givi
การจะตอบโจทย์เหล่านี้ ก็ต้องเริ่มจากการหาอะไหล่ก่อนนะครับ ทั้งการโมดิฟายและการซ่อมแซมส่วนต่างๆที่สึกหรอไป พอดีมีช่างที่รู้จักกันคอยจัดการให้ ก็เลยง่ายขึ้นเยอะครับ แถมได้ในราคาที่ถูกด้วย เริ่มจากที่ละชิ้นเลย
ล้อแม็กของ CBR 150R ปี 2005 หรือรุ่นคาบู ได้มาในราคา 1800 บาท คาดว่าถ้าซื้อราคาศูนย์ไม่น่าจะต่ำกว่า 4000 บาทแน่นอนครับ ผมได้มาทั้งหน้าหลังเลย แต่สีลอกไปเยอะพอสมควร คงต้องทำสีใหม่ อีกราวๆ 800-1000 บาท
โช้คหน้าของ Honda Sonic แกนโช้คถูกตัดให้พอดีกับแผงคอของสปาร์ค และต้องเปลี่ยนโช้คเดิมออก ก็เพราะแกนล้อแม็กของ CBR ไม่สามารถใช้กับแกนล้อเดิมของสปาร์คครับ และตำแหน่งจุุดยึดปั้มเบรคไม่ตรงกันครับ แต่ถ้าใช้ของ Sonic จะใส่กันได้พอดี ผมจึงต้องดัดแปลงและทำสีใหม่ไปพร้อมกันเลย ชุดนี้หมดไปราวๆ 2000
อันนี้รูปจากเว็บไปก่อน เพราะไม่ได้ถ่ายเอาไว้
โช้คหลังใช้ของ YSS เป็นโช้คแก๊สแบบมี Subtank ติดที่โช้ค ซับแรงกระแทกดีกว่าโช้คเดิมมากเลย ราคา 3700 บาท ที่แพงเพราะเป็นของมือ 1 
แผ่นคลัชแท้ของสปาร์ค ตรงรุ่น โดนค่าเสียหายไป 800 บาท เปลี่ยนใหม่ บิดติดมือมากเลย เพราะของเก่ามันสึกไปมาก สตาร์ทไม่ติด + บิดไม่ออกเลย
กรองอากาศ ของ Spark ตรงรุ่นราคา 170 บาท เพราะของเก่าไม่ได้เปลี่ยนมาหลายปี 
นี่เป็นรูปถ่ายก่อนจะบูรณะครั้งใหญ่ครับ ยังต้องมีอย่างอื่นที่ต้องเช็คอีกเยอะ ไหนจะเป็นแฟริ่งที่เจ้าของเก่าเอาไปล้มนับครั้งไม่ถ้วน อะไหล่ที่ไม่ครบเช่น บังโซ่ แล้วก็จุดที่เสียหายต่างๆ ทำให้เวลาวิ่งมันจะดังเหมือนมีอะไรไม่แน่น และคิดอยู่ว่าจะปลี่ยนสีดีรึป่าว เพราะถ้าทำใหม่ ก็ไม่อยากทำให้เหมือนเดิมเป๊ะเท่าไหร่นัก เหลืออีกบานเลยครับ สำหรับคันนี้ ต้องค่อยๆ เก็บไปทีละส่วน เพราะผมก็มีคันอื่นๆ ที่ต้องไปปลุกมันและต้องแบ่งงบประมาณกันออกไป

รวมค่าเสียหายเฟสนี้ สำหรับราคาอะไหล่ต่างๆ นะครับ
ค่าแผ่นคลัทซ์ - 800 B.
ค่าล้อแม็ก - 1,800 B.
ค่าโช้คหน้า - 2,000 B.
ค่าโช้คหลัง - 3,700 B.
ค่ากรองอากาศ - 170 B.
ค่าลูกปืนข้อเหวี่ยง + ค่าแผ่นรองโซ่ รวมกัน 2,500 B.
ค่าเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง อีก 300 ในการซ่อมแซมแต่ละครั้ง  โชคดีที่ช่างไม่คิดค่าแรง
รวมทั้งหมดเป็น >> 11,270 << บาท หมดเป็นหมื่นแล้ว นี่ยังไม่ถึงครึ่งทางเลย 555+
สาเหตุที่เขียน Entry นี้ไว้ก็เพราะกันลืมครับ ว่าทำอะไรไปบ้าง และสำหรับคนที่อยากจะปลุกรถตัวเอง ที่ดูธรรมดาๆ ให้มันดูน่าสนใจ น่าขับ น่าใช้งานมากขึ้น ก็อาจได้ Idia ไปลองปรับแต่งกันบ้าง ซึ่งกลุ่มคนใช้ Yamaha Spark ก็น้อยมากเมื่อเทียบกับ Honda Wave นี่จึงอาจเป็นข้อมูลได้นิดๆหน่อยๆ ให้บางคนที่ชอบคล้ายๆกัน เมื่อเส็ดไปอีกเฟสนึงแล้วจะมาอีกรอบครับ 
 
Yamaha Spark Z 110 CC  ข้อมูลจากเว็บ Yamaha 
แบบ4 จังหวะ สูบเดี่ยว SOHC ระบายความร้อนด้วยอากาศ
ปริมาตรกระบอกสูบ110.3 ซีซี.
อัตราส่วนกำลังอัด9.3 : 1
กระบอกสูบ x ระยะชัก51.0 x 54.0 มม.
ระบบหล่อลื่นยามาลู้ป 4T (SAE 20 W 40)
คาร์บูเรเตอร์มิคูนิ วีเอ็ม 17 เอส. เอช./1
ระบบจุดระเบิดดี.ซี. - ซี.ดี.ไอ.
ระบบคลัตซ์ออโตเมติกดับเบิ้ลคลัตซ์
ระบบสตาร์ทดรัมเบรก L110C สตาร์ทเท้า ดิสก์เบรก L110D สตาร์ทเท้า ดิสก์เบรก L110ED สตาร์ทมือ
น้ำมันเชื้อเพลิงน้ำมันเบนซิน ไร้สารตะกั่ว ออกเทน 91 ขึ้นไป
ความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิง4.5 ลิตร
ความจุน้ำมันเครื่อง1.0 ลิตร
ระบบเกียร์คอนสแตนท์เมช เกียร์วน 4 เกียร์
หัวเทียนเอ็น.จี.เค / ซี. 7 เอช.เอส.เอ.